Last updated: 6 พ.ย. 2564 | 898 จำนวนผู้เข้าชม |
ถ้าคิดจะลงทุนก็ต้องมีเงินซึ่งหากไม่ใช้เงินทุนของตัวเองก็ต้องกู้ ในขณะที่บางคนคิดว่าการใช้ “เงินเย็น” คือทุนตัวเองค่อยๆลงทุนไปหากผิดพลาดขาดทุนอย่างน้อยก็ยังไม่ต้องเป็นหนี้ใคร ในขณะที่อีกบางกลุ่มมองว่า กู้เงินลงทุนดีกว่าหากเป็นเงินตัวเองขาดทุนมาก็หมดแล้วหมดเลย แต่ถ้าเป็นเงินกู้ ถ้ากิจการดีก็เอากำไรมาผ่อนชำระ แต่ถ้าขาดทุนก็ยังมีเงินตัวเองมาหมุนเวียนใช้ได้อีก ดังนี้
1.ทำให้ธุรกิจเติบโตได้เร็วกว่ามีโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น
เป็นเรื่องของกำลังซื้อในการเริ่มต้นหากเรามีเงินทุนเราสามารถซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์สำคัญในการทำธุรกิจ รวมถึงการสรรหาเทคโนโลยีที่ดีที่สุดเอามาใช้ในการทำธุรกิจ สร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า แน่นอนว่าถ้าเครื่องมือเราดีสินค้าเราก็จะมีคุณภาพมากขึ้น เป็นโอกาสในการขายที่มากขึ้น ในยุคที่ธุรกิจมีการแข่งขันสูงหากเราได้ลูกค้ามาและมีออเดอร์เข้ามาแต่เครื่องมือเราไม่พร้อม ลูกค้าก็ไม่เสียเวลารอหันไปหารายอื่นเท่ากับเสียโอกาส ในทางธุรกิจการมีฐานลูกค้าที่ชัดเจนเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงขาดทุนก็ลดลง และแปรเปลี่ยนเป็นกำไรได้มากขึ้น ซึ่งในการกู้เงินก็อาจวางแผนทั้งแบบกู้เต็มจำนวนหรืออาจใช้เงินทุนตัวเองมาเป็นตัวเสริมบ้างจะทำให้มีทั้งเงินก้อนและมีหนี้ต่อธนาคารไม่เยอะเกินไป
2.ลดต้นทุนทางภาษีได้
จากฐานข้อมูลภาษีกรมสรรพากรในการยื่นภาษีปีที่ผ่านมามีกิจการที่อยู่ในระบบภาษี เป็น SMEs ที่มีรายได้ปีละไม่เกิน 500 ล้านบาท พบว่ากลุ่มนี้มีปริมาณค่อนข้างมาก ซึ่งการทำธุรกิจจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีความรู้ด้านการเงินและบัญชีที่จะได้รับสิทธิอันพึงมีที่สามารถลดต้นทุนตัวเองได้ โดยเฉพาะการลดหย่อนภาษีซึ่งถ้ามีการกู้และมีการส่งผ่อนชำระปกติ ก็จะเป็นการสร้างเครดิตให้กับธุรกิจทำให้เกิดสภาพคล่อง เมื่อมีการกู้เกิดขึ้น ผู้ประกอบการก็สามารถนำดอกเบี้ยไปคำนวณลดหย่อนภาษี อันเป็นการลดต้นทุนได้ทางหนึ่ง
3.การกู้เงินคือแผนกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ
เนื่องจากเราไม่รู้ว่าธุรกิจที่ตั้งใจทำจะสำเร็จได้อย่างที่วางแผนไว้หรือไม่ การวางแผนกระจายความเสี่ยงจึงสำคัญ หากเป็นเงินก้อนของตัวเอง หากขาดทุนอาจถึงขั้นหมดตัว แต่ถ้าเป็นเงินกู้ที่อาจจะกู้เต็มจำนวนหรือไม่ก็ตาม เป็นการกระจายความเสี่ยงในยามเกิดเหตุฉุกเฉินได้ระดับหนึ่ง ซึ่งหากธุรกิจไม่เป็นไปอย่างที่คิดเราก็ยังมีทางเลือกในการเจรจาต่อรองชำระหนี้ และยังพอมีเงินทุนอีกส่วนหนึ่งไว้ประคับประคองธุรกิจให้รอดพ้นวิกฤติในแต่ละช่วงเวลาได้
4.เกิดภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของสถาบันการเงิน
ธนาคารทุกแห่งมีเงินทุนเพื่อปล่อยกู้ให้ธุรกิจซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งของธนาคารก็คืออัตราดอกเบี้ยจากเงินกู้เหล่านี้ เรียกว่าเป็นการพึ่งพากันของนักธุรกิจและธนาคาร หากไม่เคยกู้เลยธนาคารย่อมไม่รู้จักธุรกิจของเรา แต่หากเราใช้การกู้เงินทำธุรกิจและมีการวางแผนการเงินอย่างเป็นระบบ มีบัญชีรายรับ รายจ่าย และส่วนที่เป็นเงินหมุนเวียน ซึ่งการกู้แต่ละครั้งธนาคารก็จะเห็นเอกสารหลักฐานทางธุรกิจและวินัยการเงินของเราเป็นอย่างดี การลงทุนใหญ่ๆมักใช้ข้อดีตรงนี้ในการติดต่อเงินทุนที่ส่วนมากจะได้รับการอนุมัติเพราะมีภาพลักษณ์ที่ดีก็เป็นผลดีต่อการทำธุรกิจในอนาคต
5.ได้สิทธิพิเศษ
กู้มาเพื่อขยายธุรกิจ หากเป็นลูกหนี้ที่ดี ชำระตรงตามเวลา ไม่มีเลื่อน หรือไม่เคยมีประวัติติดตามทวงถาม เป็นลูกหนี้ประวัติดีมักจะมีสิทธิพิเศษให้ต่างๆมากมาย
ในครั้งแรกทุกธนาคารย่อมไม่ไว้ใจและยังไม่เชื่อมั่นในตัวผู้กู้ว่าจะมีความสามารถในการผ่อนชำระได้ตามตกลงหรือไม่ หากเราทำให้เชื่อได้ก็เป็นการสร้างเครดิตที่ดีไว้ในคราวหลังการกู้ก็จะเป็นเรื่องง่ายไม่ยากเหมือนกับครั้งแรกๆแน่นอน
9 ต.ค. 2566
30 ม.ค. 2567
13 ก.ย. 2567